วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีแก้ไข ในกรณีลืม password ใน Linux ubuntu


สวัสดีค้าบบบ   วันนี้เราก็มาเจอกันอีกแล้ว  วันนี้ก็จะมารีวิว 
วิธีแก้ไข ในกรณีลืม password ใน Linux ubuntu  ขั้นตอนมีดีงนี้  มาดูกันเล้ยยย!  ^^



เปิดเครื่องเข้าระบบปฏิบัติการ  Ubuntu  


จากนั้นกดเลือกไปที่ root


พิมพ์ mount -o rw,remount /
ในรุ่นล่าสุดของ Ubuntu เป็นแบบอ่านอย่างเดียวดังนั้น จำเป็นต้องป้อนคำสั่งต่อไปนี้จะได้รับมันจะเป็น remount อ่านเขียนซึ่งจะช่วยให้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้


พิมพ์ -> ls /home
พิมพ์ passwd username 
กรอกรหัส password ใหม่ 2 ครั้ง 
exit เพื่อกลับสู่เมนูการกู้คืน


 หลังจากนั้น กด resume  แล้วกด Ok



หลังจากที่คุณได้รับกลับไปที่เมนูกู้คืนเลือก Resume บูตปกติและใช้อูบุนตูตามปกติ  แค่นี้การลืมรหัสผ่านก็ไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ประกอบคอม 2

สำหรับบล็อกนี้ก็จะมาทำการเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงาน ตามหัวข้ออาทิตย์ก่อนนั้น โดยอยู่ที่หัวข้อตามนี้

7. เครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานสำนักงาน * (จอขนาดไม่น้อยกว่า 18.5 นิ้ว) ราคา 16,000 บาท
คุณลักษณะพื้นฐาน
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไม่น้อยกว่า 2 แกนหลัก (2 core) มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่า 3.3 GHz หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย
- มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB
- มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Hard Drive) ชนิด SATA หรือ ดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB หรือ ชนิด
Solid State Disk ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 GB จำนวน 1 หน่วย
- มี DVD-RW หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย
- มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จำนวน
ไม่น้อยกว่า 1 ช่อง
- มีแป้นพิมพ์และเมาส์
- มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า
18.5 นิ้ว จำนวน 1 หน่วย

เริ่มกันเล้ยยย
มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไม่น้อยกว่า 2 แกนหลัก (2 core) มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่า 3.3 GHz หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย


มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB







มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Hard Drive) ชนิด SATA หรือ ดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB หรือ ชนิด
Solid State Disk ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 GB จำนวน 1 หน่วย


 
มี DVD-RW หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย  ราคา 650 บาท
  


มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จำนวน
ไม่น้อยกว่า 1 ช่อง

 
มีแป้นพิมพ์และเมาส์

  
 

 

มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า
18.5 นิ้ว จำนวน 1 หน่วย


  
 สุดท้ายนี้ เราก็มาเลือก Power  Supply  และ เคส ให้ใส่ด้วยกันได้

 

 
 เมื่อสรุปราคาออกมาแล้วนั้น 15,970  ก็ถือว่าโอเค จากงบจำนวน 16,000  บาท  ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยไว้  ณ  ที่นี้ด้วย  ส่วนบล็อกหน้าจะเป็นเรื่องอะไร รอติดตามได้เลยจร้า








วิธีติดตั้ง Ubuntu 14.04


ขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu Desktop 14.04

สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็จะมาทำการติดตั้ง Ubuntu ขั้นตอนจะมีอะไรบ้าง ซับซ้อนหรือไม่ มาดูกันเลยจร้า


Step 1 : เตรียมแผ่น DVD หรือ USB Flash Drive

         สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง ubuntu ที่เป็นนามสกุล .iso ได้ที่เว็บ Ubuntu
เมื่อ ได้ไฟล์ .iso ก็ทำการไรท์ใส่แผ่น DVD หรือ ใส่ใน USB Flash Drive
        หากใช้ Ubuntu อยู่ก็สามารถใช้ Disk Creator สร้างได้เลย ตัวนี้จะติดมากับ Ubuntu อยู่แล้ว
แต่หากเป็น Windows ก็ต้องใช้พวก Nero Burning ROM หรือ PowerISO ส่วนการทำเป็น USB Flash Drive ก็ลองโหลด โปรแกรมนี้ดูค่ะ

Step 2 : Install Ubuntu

       เริ่ม แรก ก็ให้ใส่แผ่น DVD หรือ USB เข้าไป Boot เครื่องขึ้นมา ปกติน่าจะกด F12 หรือ F8 สำหรับเลือกว่าจะ Boot จาก Drive ไหน ก็ทำการเลือกให้ Boot จาก USB/CD ก่อน เมื่อทำการ Boot จากแผ่นแล้ว จะเข้าหน้าจอดังรูป ให้กด แป้นพิมพ์บนคีย์บอร์ด (อะไรก็ได้) จากนั้นก็เลือก Install Ubuntu

 Install Ubuntu 14.04 - Install Ubuntu

       จากนั้นเลือกภาษา ขึ้นอยู่กับผู้อ่านแล้วว่าอยากได้ภาษาอะไร โดยในภาพตัวอย่าง ขอใช้ภาษาไทยละกัน

Install Ubuntu 14.04 - เลือกภาษา

ส่วน อันนี้ก็เลือกภาษาอีกครั้ง

Install Ubuntu 14.04 - เลือกภาษา2

  เมื่อเราคลิก Install Ubuntu ก็จะมาหน้านี้ มันจะบอกสเปกในการติดตั้งและบอกสถานะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อจะดาวน์ โหลดไฟล์อัพเดทระหว่างติดตั้งและตรวจสอบโซนเวลาด้วย ในที่นี้จะไม่เชื่อมต่อค่ะ รออัพเดทตอนติดตั้งเสร็จเลย กดที่ Continue เพื่อทำต่อค่ะ

Install Ubuntu 14.04 - เช็คสเปค

Step 3 : Setting Up

หน้านี้ก็มันจะให้เลือกลงยังไง ตัวแรกมันจะล้างทุกอย่างเพื่อติดตั้ง เลยเลือก Something else  หรือ อื่นๆ  เพื่อกำหนดไดร์เอง
Install Ubuntu 14.04 - Choose OS
จากนั้นก็ถึงหน้านี้ ก็เลือกไดร์ที่จะลงแล้วกดตรงเลข 1 ครับ จะมีหน้าต่างขึ้นมาตั้งค่า ขนาดไดร์ 
ฟอร์เมตแบบไหน มาดูกันต่อเลยค่ะ

จะสร้างไดร์ 2 ไดร์นะคะ
 ไดร์แรกเป้น swap area หรือ พื้นที่สลับ กำหนดไดร์ ขนาด Ram x 2   เช่นแรม 2GB ก็ตั้งไดร์นี้เป็น 4GB  ส่วนนี้เอาไว้ใช้ทดแทนแรม(RAM) หากแรมไม่พอก็จะใช้งานตัวนี้ กด ok เพื่อสร้าง


จากนั้นเลือกได์ว่างอีกครั้งกดตามเลข 1 ค่ะ


ส่วนไดร์ที่ 2 นั้นก็คือไดร์ที่จะติดตั้งไฟล์ลงไป ตัวนี้แนะนำ 20 GB ขึ้นไป แล้วตรง Mount point ใส่ / ลงไปค่ะ ไฟล์จะอยู่ไดร์นี้ทั้งหมด  จากนั้นก็กด ok


ต่อมา ทำการเลือกสถานที่ที่อยู่ โดยปกติระบบจะค้นหาที่อยู่อัตโนมัติให้อยู่แล้ว สามารถเลือกหรือเปลี่ยนได้

Install Ubuntu 14.04 - Choose Location

ต่อมา ก็ทำการเลือก keyboard layout หรือจะทดสอบโดยการพิมพ์ข้อความและตรวจหาผังแป้นพิมพ์ ก็ได้

Install Ubuntu 14.04 - Choose Keyboard

จาก นั้นก็ทำการกำหนด ยูเซอร์เนม และชื่อคอมพิวเตอร์ ชื่อ username ต้องเป็นตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อคอมพิวเตอร์กรณีใช้งานระบบ LAN จะได้ระบุตัวเครื่องได้

ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - กำหนดชื่อและยูเซอร์เนม


Step 4 : Installing System

จากนั้นก็รอมันติดตั้ง

ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Installing
ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Installing 2
ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Installing 3

Step 5 : First Login

เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ทำการ Restart รอบนึง

ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Restart

จากนั้น เมื่อระบบ Boot เสร็จก็จะได้หน้าต่าง แบบนี้

ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Login

ทำ การเข้าสู่ระบบ โดยใส่ยูเซอร์เนมและพาสเวิร์ดที่ได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง หน้าตา Ubuntu Desktop 14.04 ที่ได้ทำการติดตั้งไป ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้

ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu 14.04 - Home

สำหรับการติดตั้ง Ubuntu 14.04 ง่ายมากๆ โดยปกติเมื่อติดตั้ง Ubuntu เสร็จ เวอร์ชั่นก่อนๆ ต้องทำการสั่ง update และ upgrade ระบบ แต่ว่าเวอร์ชั่นล่าสุด ไม่ต้องเลย เพราะว่ามัน up-to-date แล้ว ส่วนบล็อกหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น รอติดตามได้เลยจร้า ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ แนะนำมาได้เต็มที่พร้อมจะนำไปแก้ไขจร้า ^_^